Sunday, October 28, 2018

อิเหนา

       

         อิเหนาหรือระเด่นมนตรีเจ้าชายรูปงามแห่งดินแดนชวาผู้มีบุญญาธิการมาก เป็นนักรบที่เก่งกล้าไม่เคยแพ้ใคร มีกริชเป็นอาวุธประจำตัว เป็นโอรสท้าวกุเรปันและประไหมสุหรีแห่งเมืองกุเรปันท้าวกุเรปันได้หมั้นหมายอิเหนาไว้กับบุษบา ธิดาท้าวดาหา แต่เมื่ออิเหนาได้เห็นจินตะหรา ธิดาท้าวหมันหยาก็เกิดความพอใจ ถึงกับทิ้งบ้านเมืองไปอยู่เมืองหมันหยาและปฏิเสธการอภิเษกกับบุษบาซึ่งเป็นคู่หมั้น การกระทำของอิเหนาทำให้ท้าวดาหาประกาศยกบุษบาให้ใครก็ได้ที่มาสู่ขอ เมื่อระตูจรกามาสู่่ขอ ท้าวดาหาจึงยกให้ ต่อมาท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพมาตีเมืองดาหา เพราะไม่ยกบุษบาให้วิวิหยาสะกำโอรส ท้าวกุเรปันจึงสั่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยเมืองดาหาอิเหนาจึงจำใจจากจินตะหรายกทัพมาช่วยเมืองดาหาจนได้ชัยชนะ เมื่อเข้าเฝ้าท้าวดาหาได้พบบุษบาก็หลงรักทันที และไม่ยอมกลับไปหาจินตะหราอีก
         อิเหนาทำอุบายลักพานางบุษบาไปไว้ในถ้ำและได้นางเป็นชายา แต่ต่อมาก็พลัดพรากจากกันอิเหนาและบุษบาตางต้องตามหากันและกันจนพบกันในที่สุด
(จากเรื่องอิเหนา ในหนังสือ ตัวเอกในวรรณคดี)

         เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ ปันจี อินู กรัตปาตี” แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง นิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี
- กลอนแต่ละวรรค มีจำนวนคำระหว่าง ๗ – ๘ คำ
- การสัมผัสในจะมีทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระเป็นคู่ ๆ ในแต่ละวรรค ทำให้เกิดเสียงเสนาะขึ้น เช่น
     ว่าพลางโอบอุ้มอรทัย       ขึ้นไว้เหนือตักสะพักชม
     เอนองค์ลงแอบแนบน้อง เชยปรางพลางประคองสองสม
     คลึงเคล้าเย้ายวนสำรวลรมย์    เกลียวกลมสมสวาทไม่คลาดคลาย
     กรกอดประทับแล้วรับขวัญ อย่าตระหนกอกสั่นนะโฉมฉาย
     ฤดีดาลซ่านจับเนตรพราย       ดังสายสุนีวาบปลาบตา


No comments:

Post a Comment